น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด

น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด
น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวสังข์หยด

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

MUFA : Monounsaturated Fatty Acid

                                                                                

                               MUFA : กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโคเลสเตอรอล

โคเลสเตอรอล คือ ไขมันที่ร่างกายสร้างขึ้นและได้รับจากสารอาหารที่มาจากสัตว์ ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของเซลล์ในระบบสมอง เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนหลายชนิดและช่วยในการย่อยและดูดซึมไขมันในลำไส้ ถ้ามีมากเกินไปโคเลสเตอรอลจะเกาะที่ผนังเส้นเลือด ทำให้เกิดปัญหาการไหลเวียนของโลหิตและเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

โคเลสเตอรอลมีทั้งชนิดที่ดี คือ HDL-C (High Density Lipoprotein Cholesterol) และชนิดที่ไม่ดี คือ LDL-C (Low Density Lipoprotein Cholesterol) ในร่างกายควรมี HDL-C สูงพอสมควรและอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะ HDL-C จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้

ในน้ำมันพืชทุกชนิดที่ใช้ประกอบอาหารไม่มีโคเลสเตอรอล แต่มีสัดส่วนของกรดไขมันแตกต่างกัน ซึ่งกรดไขมันสามารถแบ่งตามความอิ่มตัวได้ 3 ประเภท คือ
  1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid : SFA) มีอยู่ในน้ำมันที่ผลิตได้จากไขมันสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
  2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated Fatty Acid : MUFA) พบมากใน น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว
  3. กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated Fatty Acid : PUFA) พบมากในน้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง
***น้ำมันรำข้าวกับน้ำมันมะกอกต่างกันอย่างไร***

น้ำมันรำข้าวกับน้ำมันมะกอก จัดอยู่ในกลุ่มน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวหรือ MUFA สูงเหมือนกัน โดยน้ำมันมะกอกมีปริมาณของMUFAสูงกว่าน้ำมันรำข้าว แต่เมื่อพิจารณาจากคำแนะนำสัดส่วนกรดไขมันที่เหมาะสม กับการบริโภคขององค์การอนามัยโลก (WHO) และโครงการศึกษาโคเลสเตอรอลแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (NCEP) พบว่า น้ำมันรำข้าวมีสัดส่วนของกรดไขมันทั้ง 3 ชนิดใกล้เคียงมากที่สุดกับคำแนะนำของWHOและNCEP และในน้ำมันรำข้าวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิดและมีปริมาณมากกว่าน้ำมันมะกอก

กรดไขมัน สำคัญอย่างไร

กรดไขมันจะทำให้คุณสมบัติของน้ำมันต่างกัน และส่งผลต่อสุขภาพแตกต่างกันไป การวิจัยของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญพบว่า กรดไขมันอิ่มตัว (SFA) จะเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA) จะลดระดับโคเลสเตอรอลทุกชนิดในเลือด คือทั้งชนิดที่ดี (HDL-C) และโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (MUFA) จะลดเฉพาะโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) เท่านั้น

MUFA ช่วยลดอัตราเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

นอกจาก MUFA จะสามารถลดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการอุดตันในผนังหลอดเลือดแดงแล้ว MUFA ยังสามารถเพิ่มหรือคงระดับโคเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ที่เป็นตัวนำโคเลสเตอรอลในเซลล์และกระแสเลือดไปเผาผลาญ นอกจากนี้ MUFA ยังช่วยลดอัตราการเกิดออกซิเดชั่นของ LDL-C อีกด้วย

ดังนั้น MUFA จึงมีส่วนช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังช่วยทำให้ผนังหลอดเลือดแดงทำงานได้ดีขึ้น ในขณะที่กรดไขมันอิ่มตัว (SFA) ที่พบมากในไขมันสัตว์ ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น

ส่วน PUFA ที่มีอยู่มากในน้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันถั่วเหลืองนั้น นอกจากจะลดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL-C) แล้ว ยังลดโคเลสเตอรอลที่ดี (HDL-C) ด้วย

สัดส่วนของกรดไขมันที่เหมาะสมต่อร่างกายคุณ

เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคมะเร็ง องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) ได้แนะนำสัดส่วนของกรดไขมันที่ควรบริโภคประจำวัน คือ
SFA : MUFA : PUFA = 10 : 10-15 : < 10 = 1 : 1.5 : 1 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน



เอกสารอ้างอิง
  1. รุจิรา สัมมะสุต, เอกสารเรามารู้จักโคเลสเตอรอล
  2. Gill , J.M.R. , Brown, J.C., Caslake, M.J..2003 "Effects of dietary monounsaturated fatty acids on lipoprotein concentrations, compositions, and subtraction distributions and on VLDL apolipoprotein B kinetics : dose-dependent effects on LDL ", The American Journal of Clinical Nutrition, Vol.78 pp.47-56
  3. Ashton, E.L., Best, J.D., Ball M.J., 2001 "Effects of Monounsaturated Enriched Sunflower Oil on CHD Risk Factors including LDL Size and Copper-Induced LDL oxidation ", Journal of the American College of Nutrition, Vol. 20, No.4 pp.320-326.
  4. นัยนา บุญทวียุวัฒน์ และ เรวดี จงสุวัฒน์, 2545 , น้ำมันรำข้าวทางเลือกเพื่อสุขภาพของคนไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, น.21, 14-15, 23 โอเดียนสโตร์, กรุงเทพๆ.




1 ความคิดเห็น:

  1. คอเลสเตอรอล ต้นเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งได้รับสมญานามว่าเป็น เพชฌฆาตเงียบ เนื่องจากคอเลสเตอรอลสูงเกิดจากการสะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน
    เพื่อป้องกันและควบคุมคอเลสเตอรอลไว้ก่อนจะสายเกินแก้ครับ ติดตามข่าวสารความรู้เรื่องสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ http://www.facebook.com/Sukkaparbdee

    ตอบลบ